เมนู

อรรถกถาสูตรที่ 3



ในสูตรที่ 3 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อปฺปิจฺฉตา ได้แก่ ความไม่โลภ. บทว่า อปฺปิจฺฉสฺส
ได้แก่ผู้ไม่ปรารถนา ก็ในที่นี้ พยัญชนะ ดูเหมือนยังมีส่วนเหลือ
คือยังมีปรารถนาอยู่บ้าง ส่วนอรรถไม่มีส่วนเหลือ คือไม่ปรารถนา
เลย. จริงอยู่ บุคคลนั้นท่านเรียกว่า ผู้มีความปรารถนาน้อย เพราะ
ภาวะที่มีความปรารถนามีประมาณน้อยก็หามิได้ แต่ท่านเรียกว่า
มีความปรารถนาน้อย (มักน้อย) เพราะไม่มีความปรารถนา คือ
ภาวะ ที่ไม่มีความโลภ ที่เขาส้องเสพบ่อย ๆ นั่นแล.
อีกอย่างหนึ่ง ในที่นี้ พึงทราบความต่างกันดังนี้ว่า อตฺริจฺฉตา
ความปรารถนาเกิน ปาปิจฺฉตา ความปรารถนาลามก มหิจฺฉตา
ความมักมาก. ใน 3 อย่างนั้น ความไม่อิ่มในลาภของตนยังปรารถนา
ในลาภของผู้อื่น ชื่อว่า ความปรารถนาเกิน. สำหรับผู้ประกอบ
ด้วยความปรารถนาเกิดนั้น แม้ขนมสุกในภาชนะหนึ่ง เขาใส่ไว้ใน
ภาชนะของตน ย่อมปรากฏ เหมือนขนมที่สุกไม่ดี และเหมือนมีน้อย
ขนมนั้นนั่นแล เขาใส่ในภาชนะของคนอื่น ปรากฏเหมือนสุกดี
และเหมือนมีมาก. ความประกาศคุณที่ไม่มีอยู่ และความไม่รู้จัก
ประมาณในการรับ ชื่อว่า ความปรารถนาลามก. ความปรารถนา
ลามกแม้นั้น มาแล้วในอภิธรรม โดยนัยมีอาทิว่า คนบางคนในโลกนี้
เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ย่อมปรารถนาว่า ขอชนจงรู้จักเราว่า เป็นผู้
มีศรัทธา. บุคคลผู้ประกอบด้วยความปรารถนาลามกนั้น ย่อม

ตั้งอยู่ในความหลอกลวง. ส่วนความประกาศคุณที่มีอยู่ และความ
เป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการรับ ชื่อว่าเป็นผู้มีความมักมาก. ความ
มักมากแม้นั้นก็มาแล้วโดยนัยนี้เหมือนกันแหละว่า คนบางคนใน
โลกนี้ เป็นผู้มีศรัทธา ย่อมปรารถนาว่า ขอชนจงรู้จักเราว่า เป็น
ผู้มีศรัทธา. บางคนเป็นผู้มีศีล ย่อมปรารถนาว่า ขอชนจงรู้จัก
เราว่าเป็นผู้มีศีล. บุคคลผู้ประกอบด้วยความมักมากนั้น เป็นผู้อิ่ม
ได้ยาก. แม้มารดาผู้บังเกิดเกล้า ก็ไม่สามารถจะยึดจิตใจเขาได้.
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำนี้ไว้ว่า
อคฺคิกฺขนฺโธ สนุทฺโทจ มหิจฺโฉ จาปิ ปุคฺคโล
สกเฏน ปจฺจดย เทนฺตุ ตโยเปเต อตปฺปิยา.

กองไฟ 1 สมุทร 1 คนมักมาก 1 ให้ปัจจัยตั้ง
เล่มเกวียน ทั้ง 3 ประเภทนั้น ไม่รู้จักอื่น.


ส่วนการซ่อนคุณที่มีอยู่ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการรับ ชื่อว่า
ความเป็นผู้มักน้อย. บุคคลผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้มักน้อยนั้น
ย่อมปรารถนาว่า ขอชนจงรู้จักเราว่าเป็นผู้มีศรัทธา เป็นผู้มีศีล ชอบ
สงัด เป็นพหุสูต ผู้ปรารภความเพียร ถึงพร้อมด้วยสมาธิ เป็นผู้มี
ปัญญา เป็นขีณาสพ ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนจงรู้จักเราว่า
เป็นพระขีณาสพ เหมือนพระมัชฌันติกเถระ ฉะนั้น.
ได้ยินว่า พระเถระ ได้เป็นพระขีณาสพผู้ใหญ่. แต่บาตร
และจีวรของท่าน มีราคาเพียงบาทเดียวเท่านั้น. ท่านได้เป็นพระ
สังฆเถระ ในวันฉลองวิหาร ของพระเจ้าธรรมาโศกราช. ครั้งนั้น

มนุษย์ทั้งหลายเห็นว่า ท่านเป็นผู้ปอนนัก จึงกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า
ขอท่านจงอยู่ภายนอกสักครู่เถิด. พระเถระคิดว่า เมื่อพระขีณาสพ
เช่นเรา ไม่กระทำการสงเคราะห์พระราชา คนอื่นใครเล่าจักทำได้
ดังนี้แล้วจึงดำลงในแผ่นดิน แล้วผุดขึ้นรับก้อนข้าวที่เขายกขึ้นเพื่อ
พระสังฆเถระได้พอดี. ท่านเป็นพระขีณาสพ ย่อมไม่ปรารถนาว่า
ขอคนจงรู้จักเราว่าเป็นพระขีณาสพ ด้วยประการอย่างนี้.

ก็แล ภิกษุผู้มักน้อยอย่างนี้ ย่อมทำลาภที่ยังไม่เกิด ให้เกิด
ขึ้น หรือย่อมทำลาภที่เกิดขึ้นแล้วให้มั่นคง ย่อมทำจิตของทายก
ให้ยินดี. ภิกษุนั้นย่อมถือเอาแต่น้อย เพราะความที่ตนเป็นผู้มักน้อย
โดยประการใด ๆ มนุษย์ทั้งหลายเลื่อมใสในวัตรของท่าน โดย
ประการนั้น ๆ ย่อมถวายเป็นอันมาก.

ความมักน้อยแม้อีกอย่าง มี 4 ประการคือ มักน้อยในปัจจัย 1
มักน้อยในธุดงค์ 1 มักน้อยในปริยัติ 1 มักน้อยในอธิคม 1 บรรดา
ความมักน้อย 4 อย่างนั้น ความมักน้อยในปัจจัย 4 ชื่อว่า มักน้อย
ในปัจจัย. ภิกษุนั้น ย่อมรู้กำลังของทายก ย่อมรู้กำลังของไทยธรรม
ย่อมรู้กำลังของตน ถ้าไทยธรรมมีมาก ทายกประสงค์จะถวายน้อย
ย่อมรับแต่น้อย ด้วยอำนาจทายก, ไทยธรรมมีน้อย ทายกประสงค์
จะถวายมาก ย่อมรับแต่น้อย ด้วยอำนาจไทยธรรม แม้ไทยธรรม
มีมาก ทั้งทายกก็ประสงค์จะถวายมาก ย่อมรู้จักกำลังของตนแล้ว
รับแต่พอประมาณ. ภิกษุผู้ไม่ประสงค์จะให้คนอื่นรู้การสมาทาน
ธุดงค์แจ่มแจ้ง พึงทราบเรื่องเหล่านี้ เป็นอุทาหรณ์.

เล่ากันมาว่า พระมหากุมารกัสสปเถระผู้ถือโสสานิกังคธุดงค์
อยู่ในป่าช้ามาตลอด 60 ปี. ภิกษุอื่นแม้แต่รูปเดียวก็ไม่รู้ ด้วยเหตุ
นั้นแล ท่านจึงกล่าวว่า

เราอยู่ในป่าช้ามาตลอด 60 ปีรวด ภิกษุผู้เป็น
เพื่อน ก็ไม่รู้เรา โอเราเป็นยอดของผู้ถือการอยู่
ป่าช้าเป็นวัตร.


พระเถระสองรูปพี่น้องกันอยู่ที่เจติยบรรพต. น้องชายถือเอาท่อน
อ้อยที่อุปัฏฐากส่งไปถวาย ไปสู่สำนักของพี่ชายกล่าวว่า ท่านขอรับ
นิมนต์ท่านฉันเถิด. เวลาที่พูดเป็นเวลาที่พระเถระกระทำภัตตกิจ
เสร็จแล้วบ้วนปาก. พระเถระกล่าว่า อย่าเลยคุณ. น้องชายกล่าวว่า
ท่านถือเอกาสนิกังคธุดงค์หรือขอรับ. พระเถระกล่าวว่า เอามาเถอะ
คุณ ท่อนอ้อย แม้ถือเอกาสนิกังคธุดงค์ถึง 50 ก็ยังปกปิดธุดงค์
ไว้ กระทำการฉันแล้ว บ้วนปาก อิธิษฐานธุดงค์ใหม่แล้วไป. ก็
ภิกษุใด เป็นเหมือนพระสาเกตติสสเถระ ไม่ปรารถนาจะให้ผู้อื่น
รู้ว่าตนเป็นพหุสูต ภิกษุ ชื่อว่า เป็นผู้มักน้อยในปริยัติ.

ได้ยินว่า พระเถระคิดว่า เวลาไม่มีจึงไม่กระทำโอกาสใน
อุเทศ (เรียน) และปริปุจฉา (สอบถาม) ถูกทักท้วงว่า ท่านขอรับ
เมื่อไรท่านจักได้มรณขณะ (เวลาตาย) จึงสละหมู่ ไปยังกณิการวาลิก
สมุทรวิหาร. ในที่นั้น ท่านได้มีอุปการะแก่พระเถระ พระนวกะ
และพระมัชฌิมะ ตลอดภายในพรรษา ในปวารณาในวันอุโบสถ.
ให้ชาวชนบทแตกตื่นด้วยธรรมมีกถาแล้วก็ไป.

ส่วนภิกษุใดเป็นพระอริยะชั้นใดชั้นหนึ่งมีพระโสดาบันเป็นต้น
ไม่ปรารถนาให้ผู้อื่นรู้ว่าตนเป็นพระโสดาบันเป็นต้น ภิกษุนี้ ชื่อว่า
ผู้มีความปรารถนาน้อยในอธิคม เหมือนกุลบุตร 3 คน แลเหมือน
ช่างหม้อ ชื่อฆฏีการะ. ก็ในอรรถนี้ แม้ปุถุชนผู้ศึกษาประกอบด้วย
ความไม่โลภมีกำลังกล้า ได้อาเสวนะแล้ว ก็พึงทราบว่าเป็นผู้มักน้อย.
จบ อรรถกถาสูตรที่ 3

อรรถกถาสูตรที่ 4



ในสูตรที่ 4 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อสนฺตุฏฺฐิตา ได้แก่ ความโลภกล่าวคือความไม่สันโดษ
อันเกิดแก่บุคคลผู้เสพคบหา เข้าไปนั่งใกล้ บุคคลผู้ไม่สันโดษ.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 4

อรรถกถาสูตรที่ 5



ในสูตรที่ 5 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สนฺตุฏฺฐิตา ได้แก่ ความสันโดษกล่าวคือความไม่โลภ
อันเกิดแก่บุคคลผู้เสพคบหา เข้าไปนั่งใกล้ บุคคลผู้สันโดษ.
บทว่า สนฺตุฏฺฐสฺส ได้แก่ผู้ประกอบด้วยความสันโดษในปัจจัย
ตามมีตามได้ ความสันโดษนั้นมี 12 อย่าง คือ ความสันโดษในจีวร